โรคของทุเรียนที่ต้องคอยเฝ้าวังเมื่อเจอกับหน้าฝน

โรคทุเรียนที่ต้องคอยเฝ้าวังเมื่อเจอกับหน้าฝน

โรคของทุเรียนที่ต้องคอยเฝ้าวังเมื่อเจอกับหน้าฝน

 

                เมื่อถึงฤดูฝนโรคที่มาพร้อมกับหน้าฝนที่เกิดขึ้นกับทุเรียนนั้นจะอยู่ในกลุ่มของเชื้อรา โดยส่วนมากจะสามารถแบ่งโรคทุเรียนหน้าฝนออกเป็น 3 โรคด้วยกันที่เกิดขึ้นบ่อย

 

โรคผลเน่า (เชื้อราไฟทอฟธอรา)

ลักษณะอาการ

โรคทุเรียนหน้าฝน โรคนี้จะเกิดขึ้นบริเวณในส่วนของผลทุกเรียนที่จะพบจุดช้ำสีน้ำตาล เมื่อทิ้งไว้จุดช้ำนี้จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ

การป้องกันกำจัด

  1. นำผลทุเรียนที่ติดเชื้อรานี้คัดแยกออกไว้ให้ห่างจากสวยทุเรียน จากนั้นให้ทำการเผาทำลายซากทุเรียนนี้เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อราสู่ต้นทุเรียนต้นอื่น ๆ ถัดไป
  2. ต้องเพิ่มการตรวจสอบผลทุเรียนให้ถี่ขึ้น โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนนี้ หากพบอาการผลเป็นจุดเน่า ให้ทำการนำสารเคมีเข้าไปฉีดใส่ต้นทุเรียน โดยส่วนผสมจะประกอบไปด้วย สารเมตาแลกซิล 25 %WP หรือ เมตาแลกซิลผสมแมนโคแซป หรือ ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม 80%WP ให้ทั่วทั้งต้นประมาณ 1-2 ครั้ง

 

โรครากเน่าโคนเน่า (เชื้อราไฟทอฟธอรา)

ลักษณะอาการ

โรคทุเรียนหน้าฝนโรคนี้จะมีลักษณะเน่าที่ต่อของต้นหรือกิ่ง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นเปลือกต้นทุเรียนที่มีน้ำยางสีน้ำตาลแดงเยิ้มๆ เกาะอย่างชัดเจนทั้งบริเวณโคนต้น กิ่งไม้ และในส่วนอื่น ๆ ของลำต้น และน้ำยางเหนียว ๆ นี้จะค่อย ๆ แห้งในช่วงที่มีอากาศร้อน ถ้าลุกลามหนักขึ้นจะทำให้รากเน่า เสี่ยงต่อการล้มของต้นทุเรียน

การป้องกันกำจัด

  1. เก็บส่วนของทุเรียนที่ติดเชื้อออกจากฟาร์มทุเรียน ถ้าเป็นกิ่งให้ตัดทิ้งเลย ไม่ควรเก็บไว้และทำการเผาทำลายอย่างเร่งด่วน
  2. เฉือนเนื้อของต้นทุเรียนบาง ๆ แล้วทาด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น เมตาแลกซิลฟอสเอสเอทธิล หรือ อลูมินั่ม เป็นต้น
  3. ฉีดสารฟอสฟอรัสแอซิด โดยผสมกับน้ำสะอาดเข้าสู้ลำต้นโดยตรงเหมือนกับการให้วัคซีน
  4. ลดปริมาณเชื้อราในดินโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

 

โรคของทุเรียนที่ต้องคอยเฝ้าวังเมื่อเจอกับหน้าฝน

 

โรคใบติดหรือใบไหม้ (เชื้อราไรซอกโทเนีย)

ลักษณะอาการ

โรคทุเรียนหน้าฝนโรคนี้จะเห็นแผลเหมือนโดนน้ำร้อนลวกบนใบ เกิดการลุกลามและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไปยังใบอื่นๆ ได้ เชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้ใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงเหลือแต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้กรรไกรหรือมีดในการติดแต่งกิ่งไม้ให้มีระยะห่างของกิ่ง
  2. เก็บใบไม้ไปเผาทำลาย
  3. ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ เพื่อลดความอุดมสมบูรณ์ของการแตกใบของต้นทุเรียน

โรคของทุเรียนที่ต้องคอยเฝ้าวังเมื่อเจอกับหน้าฝน

 

Recommended Articles