เจาะตลาด ผลผลิตทางการเกษตร
การเจาะตลาดผลผลิตทางการเกษตรนั้น เป็นกลยุทธ์สำคัญในการวางแผนเพื่อการจัดจำหน่ายสินค้าของเกษตร หรือเรียกอีกอย่างว่าการตลาด ซึ่ง “การตลาดนั้น” คือการจัดการเรื่องแนวคิดต่อสินค้า การโฆษณา การบริการ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะนำมาถึงความพึงพอใจต่อผลผลิตและสินค้าของลูกค้า นอกจากนั้น การตลาดยังหมายถึง การรวมกลุ่มกิจกรรมทางธุรกิจ ของผู้ผลิต ในการขับเคลื่อนผลผลิตและสินค้าจากผู้ผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมีระเบียบแบบแผนที่ดี
กลยุทธ์ในการเจาะตลาดผลผลิตทางการเกษตร ควรตั้งอยู่ในกระบวนการคิดและพิจารณาที่ทำให้สินค้านั้นจดจำได้ง่ายๆ โดยมีกลยุทธ์หลักๆ คือ
การพัฒนาผลผลิต โดยผลผลิตทางการเกษตรต้องมีความสดและสมบูรณ์ และสินค้าต้องได้คุณภาพ ซึ่งต้องเริ่มกันตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว
ปริมาณการผลิต ต้องให้ได้ผลผลิตตามความต้องการของลูกค้าและไม่ขาดตลาด โดยการวางแผนการผลิตแต่ละรอบให้ได้ผลผลิตตามความต้องการ
การตั้งราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม โดยการประเมินและคำนวณต้นทุนของผลผลิตไม่ตั้งราคาแพงจนเกินไป อาจจะทำให้มีผลกระทบกับยอดขายในสินค้านั้นๆ โดยสามารถแบ่งย่อยได้ 3 วิธี
- ต้นทุน + กำไร = ราคา บางรายอาจไม่ทราบต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้นควรมีการจดบันทึก ซึ่งปัจจุบันมี แอพพลิเคชั่น (Thai Organic Platform) ซึ่งช่วยเก็บบันทึกข้อมูลต้นทุนการผลิตได้
- การแข่งขันราคา ส่วนใหญ่ไม่มีตายตัว ขึ้นอยู่ที่การวางจุดยืนของเราเอง ว่าจะตั้งราคาสินค้านั้นอย่างไร
- คุณภาพ และคุณค่าของสินค้าเป็นตัวนำ อย่างการโฆษณาเกี่ยวกับสินค้า เช่น เป็นผลผลิตที่ปลอดสารเคมี กระบวนการผลิตสะอาด มีผลผลิตสวยงาม เป็นต้น
ช่องทางการขายที่หลากหลายเข้าถึงลูกค้าคือการหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยหาร้านค้าที่มีความต้องการในผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เช่นขายในตลาดสด การนำสินค้าไปขายในซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ หรือเพิ่มวิธีการขายด้วยการ ขายทางออนไลน์ เป็นต้น
การส่งเสริมการขายที่น่าสนใจหรือโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ให้ส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไป และลดราคาเมื่อซื้อสินค้าจำนวนมากๆ หรือจัดเป็นชุดๆ หรือจะแจกหรือแถมฟรีก็ได้
แปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อความหลากหลาย ทำให้ยอดขายในสินค้าแต่ชนิดเพิ่มขึ้น เช่น นำกล้วยสดมาตาก หรือทำเป็นกล้วยกวน เป็นต้น
สร้างความน่าเชื่อถือในสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยการแสดงข้อมูล ขั้นตอนผลิต การเก็บเกี่ยว แพคเกจสินค้า การจัดส่ง เป็นไปอย่างโปร่งใส
หาช่องทางการตลาดแบบ B2B (Business to Business ) เช่น ดีลการขายกับ ร้านค้า หรือ โรงแรม เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการซื้อ
การซื้อขายแบบ Par คือการกำหนดขั้นต่ำราคาล่วงหน้า เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
ขายโดยตรง B2C (Business to Customer ) การขายกับผู้ค้ารายเดียวหรือขายโดยตรงกับผู้บริโภค จะสามารถทำให้เกิดผลกำไรที่มากขึ้น
และทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์สำคัญของการ เจาะตลาดผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อผลลิตเหล่านั้น
เจาะตลาด ผลผลิตทางการเกษตร