หนูหริ่ง ศัตรูพืชตัวเล็กจอมทำลาย
สำหรับผู้ที่ทำเกษตรกรรมในช่วงฤดูร้อนแล้ว ปัญหาหนึ่งที่มักจะต้องพบเจอเป็นประจำนั่นก็คือ การบุกลุกเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกเอาไว้จากหนูนานาพันธุ์ นั่นเอง โดยในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับหนูอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่นับว่าเป็นศัตรูพืชตัวสำคัญของเหล่าเกษตรกรนั่นก็คือ “หนูหริ่ง” นั่นเอง
หนูหริ่ง จัดเป็นสัตว์ฟันแทะประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีลักษณะทางกายภาพมองดูคล้ายกับหนูสายพันธุ์อื่นๆ ทั่วไป แต่สามารถจำแนกความต่างระหว่างหนูหริ่งและหนูสายพันธุ์อื่นๆได้ นั่นก็คือขนาดตัวที่เล็กกว่ามากและมีขนสั้นสีดำอมเทาปกคลุมตลอดทั้งตัว นอกจากนี้หางของหนูหริ่งยังเรียวยาวเป็นสองสี และไม่มีขนปคลุมเหมือนช่วงลำตัว สำหรับหนูหริ่งเพศเมียจะโตเต็มวัยเมื่อมีอายุ 1 – 1.5 เดือน และเพศผู้จะโตเต็มวัย เมื่อมี
อายุ 1 – 2 เดือน ทั้งนี้น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มวัย จะอยู่ที่ประมาณ10 – 17 กรัมเท่านั้นเอง นอกจากนี้
สายพันธุ์ของหนูหริ่งยังสามารถแยกย่อยออกมาได้อีก 2 ประเภท ได้แก่
- หนูหริ่งหางสั้น
- หนูหริ่งหางยาว
ในด้านของการสร้างความเสียหาย หนูหริ่งจะสร้างรังเพื่อขยายพันธุ์ภายในพื้นเพาะปลูก และจะออกหาอาหารในเวลากลางคืน โดยการกัดกินพืชผลทางการเกษตรตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพาะปลูกไปจนถึงระยะของการเก็บเกี่ยวผลผลิตเลยทีเดียว โดยการกัดแทะทำลายนั้น หนูหริ่งจะกัดกินพืชผลตามส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราก ลำต้น ใบ ยอด ไปจนถึงผลผลิตที่ออกมา ทั้งนี้หากพื้นที่ไหนมีหนูเป็นจำนวนมากก็อาจจะประสบปัญหาเรื่องความเสียหาย จนปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ ลดลงไปมากกว่าครึ่งเลยทีเดียว
สำหรับวิธีการกำจัดหนูนานั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ทั้งการทำลายรังที่อยู่อาศัยรวมไปถึงการดักจับใส่กรง และใช้ยาหรือสารเคมี นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องคอยตรวจตราพื้นที่โดยรอบแปลงเกษตรของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีหนูหริ่งหรือเจอพื้นที่ทำรัง ให้รีบทำลายทิ้งในทั้งที
หนูหริ่ง ศัตรูพืชตัวเล็กจอมทำลาย