ระบบรากแก้ว

ระบบรากแก้ว

 

            กิ่งก้านใบ ชะ ชะ ใบก้านกิ่งงง … เอาล่ะค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันถึงเรื่องของ โครงสร้างต่าง ๆ ของต้นไม้ อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่า ส่วนประกอบหลัก ๆ ของต้นไม้นั้นมี ใบ กิ่ง ลำต้น ดอก ผลและเมล็ด และอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ รากนั่นเองค่า ปิ๊งป่อง ๆ ก็เปรียบเสมือนกับสิ่งอื่น ๆ นั่นแหละค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สภาพสังคม ครอบครัว หรืออะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่เป็นรากฐานนั้นถ้าหากแข็งแรงแล้วล่ะก็ สิ่งนั้น ๆ ก็จะมั่นคงเข้มแข็งอยู่ได้อย่างยาวนานเลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาดูเรื่องระบบรากแก้วกันค่ะ

            มาทำความรู้จักรากกันก่อนค่ะ  ราก นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้เนี่ยแหละค่ะ ที่ไม่มีข้อ ไม่มีใบ ทำหน้าที่ยึดต้นไม้ไว้ให้ติดกับดิน นอกจากนี้หน้าที่หลักของรากจริง ๆ ก็คือ ดูดซึม และลำเลียงอาหารเพื่อเอาไว้ใช้บำรุงต้นไม้ อีกทั้งยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ ให้กับต้นไม้อีกด้วย เช่น ฮอร์โมนไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการเจริญเติบโตของต้นไม้นั่นเองค่า รากแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบรากแก้ว และ ระบบรากฝอย

            มาเริ่มที่ระบบรากแก้วกันก่อนเลยค่ะ มีต้นไม้หลายชนิดเลยค่ะที่เป็นแบบรากแก้ว ลักษณะของรากแก้วนั้นคือจะยื่นออกมาจากตัวต้นไม้ค่ะ มีส่วนปลายที่เป็นทรงกรวย รูปร่างยาวลึกลงไปในดิน และมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ โดยที่ด้านข้างของรากแก้ว สามารถแตกแขนงออกไปได้เรื่อย ๆ  ส่วยปลายจะมีรากฝอยเล็ก ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยในการดูดซับอาหารให้กับต้นไม้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังค้นพบรากแก้วในพืชแบบใบเลี้ยงคู่มากกว่า

ระบบรากแก้ว

            ระบบรากฝอย อย่างที่เกริ่นไว้ในระบบรากแก้วแล้วนะคะ ว่ารากฝอยเป็นรากที่งอกออกจากลำต้นส่วนปลาย มีลักษณะ กลมยาว ส่วนใหญ่แล้วรากฝอยจะค้นพบได้ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมากกว่าใบเลี้ยงคู่ค่ะ เช่น  ตะไคร้ หญ้าคา เป็นต้น แต่ก็มีหลาย ๆ ครั้งค่ะ ที่ค้นพบว่ารากมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยรอบค่ะ หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยเห็นป่าโกงกางมาก่อนใช่ไหมคะ นั่นแหละค่ะ แบบนั้นเขาเรียกว่า รากค้ำจุน ที่ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพสำหรับการยึดต้นไม้ไว้กับดินเพื่อความอยู่รอด

           

            และตอนนี้เราก็ได้ทำความรู้จักกับรากกันไปแล้วนะคะ นอกจากนี้รากยังมีส่วนประกอบยิบย่อยอีกมาก หากใครที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต้นไม้ ก็ลองใช้เวลาว่างเพื่อศึกษากันเพิ่มเติมได้นะคะ เพราะต้นไม้มีส่วนสำคัญมาก ๆ ในระบบนิเวศของเรา เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษามากกว่าทำลายเขาค่ะ

 

 

 

 

Recommended Articles