ระบบรากแก้ว

ระบบรากแก้ว

                  รากส่วนของพืชที่มักมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วงของโลกและเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดินซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้

หน้าที่ที่สำคัญของรากแก้วของต้นไม้

  1. ค้ำจุ้นต้นไม้ไม่ให้ล้มและสามารถทรงตัวอยู่ได้
  2. ลำเลียงสารอาหารจากล่างขึ้นสู่ด้านบน
  3. เปรียบเสมือนห้องเก็บอาหารหรือห้องครัวของพืช

ระบบของรากแก้ว

  1. ระบบรากแก้ว จะมีส่วนประกอบของรากแก้วที่มีขนาดที่ใหญ่และประกอบด้วยรากฝอยที่งอกออกมาจากรากแก้วซึ่งถือรากหลักในการยึดลำต้นให้สามารถทรงตัวอยู่ได้ และเป็นรากที่มีขนาดใหญ่กว่ารากอื่น ๆ อีกทั้งมีรากแขนงเจริญออกจากรากแก้ว สามารถพบได้ทั้งพืชใบเลี้ยงคู่
  2. ระบบรากฝอย พบในพืชจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว เกิดขึ้นการแตกตัวของแรกแก้วในตอนที่กำลังสร้างต้นอ่อนไปเป็นรากที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณที่กว้างมากกว่าระบบรากแก้ว ช่วยในเรื่องของการดูดซึมน้ำและสารอาหารที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับระบบรากแก้วแล้ว

 

 

ชนิดของรากแก้ว

  1. รากแก้ว มีลักษณะที่ใหญ่ ยาว สามารถหยั่งไปยังชั้นใต้ได้ดินลึกกว่าและมีความคงทนต่อการทรงตัวมากที่สุด
  2. รากแขนง เป็นรากแก้วที่แตกออกมา ช่วยในการดูดซึมสารอาหารในดินได้ดียิ่งขึ้น
  3. รากวิสามัญ รากที่ทำให้ที่อื่น ๆ เช่น
  • รากปีนป่าย เช่น รากตำลึง พลูด่าง พริกไทย กล้วยไม้ ทำหน้าที่ยึดกับพื้นผิวเพื่อที่จะชูไปรับแสงแดดในแต่ละวันนั่นเอง
  • รากค้ำจุน หรือ รากค้ำยัน เช่น รากโกงกางในป่าชายเลน โดยจะงอกมาจากบริเวณโคนต้นและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถช่วยในเรื่องของการทรงตัวดินเลนที่มีความเหลวได้เป็นอย่างดี
  • รากหายใจ เป็นรากที่โล่พ้นขึ้นมาจากดินทำหน้าที่ในการหายใจ เช่น รากของต้นแสมดำ รากจากต้นโกงกาง เนื่องจากลักษณะดินเลนแล้วมีปริมาณอากาศหรืออกซิเจนที่ค่อนข้างน้อย ดังนั้นต้นไม้จึงมีการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสภาพหน้าดินที่ขึ้นอยู่นั่นเองครับ
  • รากพูพอน จัดเป็นรากที่ต้องการความขยายออกไปยังบริเวณรอบ ๆ เช่น ต้นฝอยทอง หรือต้นฤาษี ที่ชอนไชหาที่ที่สามารถรับสารอาหารได้อย่างเต็มที่

ระบบรากแก้ว

 

  • รากสะสมอาหาร (storage roots) ตรงตามชื่อเรียก รากนี้จะมีอาหารที่สะสมอยู่ภายใน และจะประกอบไปด้วย storage parenchyma จะมีในพืชผักตรพกูลหัว เช่น แครอท มันแกว หัวผักกาด และรากสะสมอาหารที่เปลี่ยนแปลงมาจากรากฝอย เช่น มันสำปะหลัง มันเทศ
  • รากสังเคราะห์แสง (photosynthetic roots) เช่น รากไทร รากกล้วยไม้ มีสีสารเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เรามักจะพบได้ที่บริเวณรากที่อายุน้อย

 

 

 

 

Recommended Articles