มาดูกัน ปุ๋ย เครื่องมือการเกษตรสุดแสนจำเป็นมีกี่ประเภท
ในการปลูกพืช ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย หรือพวกไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ “ปุ๋ย” ถือเป็นเครื่องมือการเกษตรที่แสนจะสำคัญมากๆ เพราะถ้าหากพืชไม่ได้รับการบำรุง หรือในดินมีสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต พืชก็อาจไม่ผลิดอกออกผล หรืออาจจะตายลงไปได้ในที่สุด ซึ่งปุ๋ยก็มีหลายประเภทให้เลือกให้ เรามาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
“ปุ๋ย” คืออะไร
คำว่า “ปุ๋ย” หากให้อธิบายตามอย่างเป็นทางการก็คือ เครื่องมือการเกษตรที่เป็นสารอินทรีย์หรืออนินทรียีก็ได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่ถูกมนุษย์ทำขึ้นมาก็ได้ ใช้เป็นสารอาหารสำหรับในการเจริญเติบโตของพืช หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีซึ่งส่งผลต่อการเจริฐเติบโตของพืช
“ปุ๋ย” มีกี่ประเภท
ปุ๋ยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลากหลายประเภทมาก ซึ่งประสิทธิภาพก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่สูตรและสารอาหารที่มีภายในปุ๋ยชนิดนั้นๆ โดยสามารถแบ่งคร่าวๆ ได้ 4 ประเภท คือ
ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่เรารู้จักกันดี มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ปุ๋ยเคมีเป็นสารอนินทรีย์ที่ถูกผลิตขึ้นจากเคมีเพื่อเพิ่มธาตุสารอาหารให้กับต้นพืช ข้อดีของปุ๋ยเคมีนั้นคือจะละลายลงดิน และถูกรากของพืชดูดซึมได้เร็ว อีกทั้งจะให้ประสิทธิภาพสูงเห็นผลชัด แต่ในระยะยาวก็จะส่งผลเสียต่อดิน ปุ๋ยเคมีนั้นถูกแบ่งย่อยไว้อีก 2 ประเภท คือ ปุ๋ยเดี่ยว ซึ่งคือปุ๋ยที่มีสารอาหารประเภทเดียวในตัวเอง เช่น 16-16-16, 46-0-0, 15-15-15 เป็นต้น อีกอย่างคือปุ๋ยคู่ จะมีสารอาหารสองตัวขึ้นไป เช่น 15-4-4, 15-7-18, 22-5-24 เป็นต้น
ปุ๋ยอินทรีย์
หลายคนน่าจะรู้จักดี เพราะปุ๋ยอินทรีย์มี 3 แบบ คือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยที่ได้จากสารในธรรมชาติ ซากพืชซากสัตว์ มูลสัตว์เช่น ไก่ วัว หรือไส้เดือน ปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีข้อดีอย่างมากกับดิน เพราะจำทำให้ดินร่วยซุย รากพืชชอนไชง่าย ไม่เป็นพิษในระยะยาว
ปุ๋ยชีวิภาพ
ปุ๋ยแบบนี้เป็นปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์มีชีวิตและมีข้อพิเศาคือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารที่พืชดูดซึมไปใช้ประโยชน์ให้สามารถดูดซึมไปสร้างประโยชน์ได้ อย่างเช่นจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์ธาตุไนโตรเจนได้ อย่าง ไรโซเบี่ยม ซึ่งจะได้จากตัวปมรากของพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ปุ๋ยประเภทนี้คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการให้ความร้อนสูงจนทำลายจุลินทรีย์ทั้งดีและไม่ดี ไม่ค่าจะเป็นโรคพืช โรคสัตว์ หรือโรคจากคนไปจนหมด จากนั้นก็นำมาผสมกับจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไว้ในที่ปลอดเชื้อโรคจนได้จุลินทรีย์ที่คงที่ ซึ่งจะช่วยให้มีไนโตรเจนในพืชมากขึ้น และช่วยให้รากพืชมีความแข็งแรงทนทานต่อโรค รวมไปถึงมีภูมิคุ้มกันโรคด้วย