พื้นฐานที่ต้องรู้สำหรับผู้เริ่มทำการเกษตรผสมผสาน

พื้นฐานที่ต้องรู้สำหรับผู้เริ่มทำการเกษตรผสมผสาน

พื้นฐานที่ต้องรู้สำหรับผู้เริ่มทำการเกษตรผสมผสาน

              ปัจจุบันเกษตรกรไทยเริ่มหันมานิยมทำการเกษตรผสมผสานกันมากขึ้นเนื่องจาก สามารถทำได้ในพื้นที่ที่มีจำกัด โดยเริ่มตั้งแต่ 1 งาน ไปจนถึงหลายๆ ไร่ อีกทั้งยังได้ผลผลิตที่หลายหลากมีรายได้ตลอดทั้งปี สามารถกำหนดราคาได้ อีกทั้งยังทำการตลาดกับผู้บริโภคได้โดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ด้วยเหตุเหล่านี้ วิถีการทำเกษตรในแบบผสมผสานจึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยจะสามารถพบได้ทุกพื้นที่และทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย

              ไม่เพียงแค่ผู้ที่ทำอาชีพเกษตรกรอยู่แล้วเท่านั้น แต่ในปัจจุบันการทำการเกษตรด้วยวิธีทำแบบผสมผสานนี้ ยังได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ หรือมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวาย กลับไปเริ่มทำการเกษตรที่บ้านเกิด บ้างต้องการหนีจากวิถีชีวิตแบบที่ต้องตื่นเช้า กลับมืด บ้างต้องการมีธุรกิจของตนเอง หรือบางคนก็อาจจะเบื่อชีวิตการเป็นลูกจ้าง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ในปัจจุบัน เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่ ๆ ขึ้นมามากมายในประเทศของเรา ซึ่งการได้กลับไปเริ่มอาชีพเกษตรกรรมนี้ จะเห็นได้ว่ามีข้อดีมากมายทั้งกับสภาพร่างกายตลอดจนจิตใจ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ส่งต่ออาชีพเกษตรกรรม ที่ที่มีมาอย่างยาวนานในประเทศ ให้ดำรงค์อยู่ไม่หายไปตามกาลเวลา  โดยอาชีพเกษตรกรนี้ทั่วโลกต่างยกย่องให้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับปากท้องของผู้คน

 

การเกษตรผสมผสาน เป็นอีกหนึ่งทฤษฏีทางการเกษตรที่เหมาะกับทุกคนและทุกพื้นที่ในประเทศไทย เป็นการสร้างระบบนิเวศที่ดีของทั้งพืชและสัตว์ ผลผลิตที่มีในพื้นที่ ส่งผลประโยชน์เกื้อกูลต่อกัน ทั้งนี้การทำเกษตรแบบนี้ ควรเริ่มต้นด้วยการทำเพื่อให้มีอาหาร
ที่เพียงพอสำหรับเกษตรกรเสียก่อน จากนั้นจึงนำออกขาย เพื่อให้สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ด้วยการเกษตรอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกมากนัก นอกจากนี้ ควรมีการจัดการพื้นที่ที่ดี ทั้งการเพาะปลูกพืช สร้างแหล่งน้ำ และเลี้ยงสัตว์ จะเห็นได้ว่า เมื่อมีกิจกรรมทางการเกษตรไม่ต่ำกว่าหนึ่งอย่างในพื้นที่ จึงจะถือเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างแท้จริง

จุดประสงค์ที่ทำให้เกิดการเกษตรทฤษฏีนี้ขึ้นมามีหลากหลายที่มาด้วยกัน บางครั้งการทำเกษตรเพียงอย่างเดียวในพื้นที่ทั้งหมดอาจจะเกิดความไม่มั่นคงของรายได้ ผลผลิตที่ได้บางครั้งราคาดีน่าพอใจแต่ในบางครั้งก็อาจจะราคาตกจนทำให้เกิดภาวะขาดทุนจากการลงทุน เนื่องจากพืชบางชนิดต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรจึงจะสามารถเก็บผลผลิตได้ จึงมีต้นทุนสูง บ้างครั้งมีการเหลือทิ้งของสิ่งต่างๆมากมายแต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ลำต้นพืชบางชนิดที่ต้องตัดเพื่อเก็บผลผลิต หรือมูลสัตว์เป็นต้น ทั้งนี้การเกษตรผสมผสานจึงมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่มี ในพื้นที่จำกัด อีกทั้งเพื่อลดต้นทุนสำหรับการทำเกษตรกรรม สร้างความมั่นคงทางรายได้ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันเกษตรแบบผสมผสานนั้น สามารถแบ่งตามกิจกรรมหลักได้ดังนี้

 

พื้นฐานที่ต้องรู้สำหรับผู้เริ่มทำการเกษตรผสมผสาน

 

 – แบบที่ใช้การปลูกพืชเป็นหลัก สำหรับเกษตรกรที่มีการปลูกพืชเป็นหลักอยู่แล้ว ก็อาจจะมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชเป็นส่วนมากจากทั้งหมด โดยมีการเลี้ยงสัตว์เป็นการเสริม

 

– แบบใช้การเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก สำหรับเกษตรกรที่มีการปลูกพืชเป็นหลักอยู่แล้ว ก็อาจจะมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชเป็นส่วนมากจากทั้งหมด โดยมีการปลูกพืชเป็นส่วนเสริม

 

– แบบใช้การประมงเป็นหลัก สำหรับกรณีที่มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นหลักอยู่แล้ว ก็อาจจะมีพื้นที่สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการปลูกพืช ทั้งพืชน้ำและพืชไร่ ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์อื่นๆเป็นส่วนเสริม

 

      แบบวนเกษตร หรือไร่นาสวนผสม คือการแบ่งพื้นที่ตามการใช้งานหรือ หรือความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ พร้อมกับการทำการเกษตรหลายๆ อย่างร่วมกันทั้งโดยไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งเป็นหลักในส่วนการจัดสรรที่ดินที่มีอยู่ ควรประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่ปลูกพืชอื่นๆ แหล่งน้ำ และพื้นที่อยู่อาศัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

พื้นที่ในการปลูกข้าวสำหรับไร่นาสวนผสม เนื่องการเกษตรในแบบนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกษตรกรลดต้นทุนการดำเนินชีวิตจากปัจจัยภายนอก การปลูกข้าวกินเองจึงถือว่าเป็นการลดต้นทุนสำหรับเกษตรกรไปได้มาก อีกทั้งทำให้มีข้าวกินอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์อื่นๆจากนาข้าวได้ เช่นปลูกพืชบริเวณคันนา หรือการเลี้ยงปลาในนาข้าว ทั้งเป็นอาหารและสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย

 

– พื้นที่ปลูกพืช ทั้งนี้แนะนำให้ปลูกพืชมากกว่าหนึ่งชนิด โดยสามารถปลูกได้อย่างหลากหลายตามแต่ละภูมิภาค หรือ สภาพพื้นที่ ทั้งนี้สามารถปลูกได้ตั้งแต่ พืชผักสวนครัว เพื่อใช้รับประทานภายใน เป็นการลดต้นทุน หากได้ผลผลิตดียังสามารถนำออกขายสร้างรายได้เพิ่มอีกด้วย นอกจากนี้ยังควรปลูกพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด ทั้งพืชสมุนไพร ไม้ผล ตลอดจนพืชไร่ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของราคาที่อาจเกิดขึ้นจากการปลูกเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังมีรายได้จากหลากหลายทาง และหากวางแผนเรื่องระยะเวลาการให้ผลผลิตได้ดีแล้ว สามารถทำให้เกษตรมีรายได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี หากมีพื้นที่จำกัด ควรมีการวางแผนและจัดระดับความสูงของพืชแต่ละชนิดให้ดี ก็จะสามารถปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกันได้

– พื้นที่แหล่งน้ำ แน่นอนว่าหากพูดถึงการทำการเกษตรแล้ว ไม่ว่าจะทำแบบไหน น้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ พื้นที่ 30 นี้จึงควรขุดสระสำหรับกักเก็บน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สำหรับพืชและข้าวตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือปลูกพืชน้ำเพื่อเป็นอาหารหรือนำออกขายเพื่อสร้างรายได้ อีกหนึ่งทาง

 

– พื้นที่อยู่อาศัย แน่นอนเพื่อให้เกษตรกรมีที่อยู่ ที่มั่นคงสามารถดำรงค์ชีวิตกับพื้นที่การเกษตรได้ เพื่อความสะดวกในการจัดการ ตลอดจนการทำงานต่างๆ มีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ทำการจึงถือว่าเป็นข้อดีสำหรับเกษตรกร นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อยู่อาศัย ยังสามารถใช้ในการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เก็บผลผลิตเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกหนึ่งทาง

 

นอกจากนี้การเกษตรผสมผสานนั้นยังสามารถทำได้ ทั้งแบบใช้สารเคมี , เกษตรอินทรีย์ และการเกษตรแบบระบบนิเวศทางธรรมชาติที่ปล่อยให้สิ่งที่มีในพื้นที่เกื้อกูลพึ่งพาอาศัยกันเอง อย่างไรก็ดีเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกษตรกรควรมีการวางแผนให้เกิดการเกื้อกูลกันของธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ทั้งการเอื้อประโยชน์กับพืชด้วยกันเอง หรือการเอื้อประโยชน์ของพืชและสัตว์ อีกทั้งควรศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่ตนอยู่เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ ศึกษาลักษณะพื้นที่ทำการเกษตรของตนเองเพื่อการจัดวางแหล่งน้ำหรือพืชต่างๆ ตลอดจนศึกษาตลาดที่จะส่งผลผลิต ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ใช้ประโยชน์จากทุกอย่างในพื้นที่ของตนได้อย่างคุ้มค่า และช่วยลดต้นทุนในการทำการเกษตรนั่นเอง

สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเริ่มทำการเกษตรชนิดนี้ควรศึกษาข้อมูล วางแผนให้ดี นอกจากนี้ยังสามารถขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ตลอดจนเข้าดูงานพื้นที่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาก่อนแล้วซึ่งปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้มีอยู่มากมายทั่วประเทศไทย

 

พื้นฐานที่ต้องรู้สำหรับผู้เริ่มทำการเกษตรผสมผสาน

Recommended Articles