ทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์
การทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์ คือการใช้ใช้วัตถุดิบที่ทำมาจากธรรมชาติ ร่วมกับวิธีทางธรรมชาติในการทำเกษตรเป็นหลัก โดยเริ่มจากการทำให้พื้นที่นั้น ปราศจากสารเคมีและสารพิษตกค้างก่อน ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ ก็ตาม ล้วนต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ในระบบนิเวศน์ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นมีความสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยยึดหลักทำเกษตรอินทรีย์แบบประยุกต์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรมทั้งสิ้น
การทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์ สำหรับผู้เริ่มต้นนั้นควรศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานและมาตรฐานการเกษตร และให้นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น โดยการลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานของเกษตรอินทรีย์ โดยให้เน้นการทำด้วยวิธีการทางธรรมชาติให้มากที่สุด และเมื่อเราทำได้ตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว เราสามารถที่จะขอการรับรองมาตรฐานจากทางภาครัฐเพื่อการันตีมาตรฐานของฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของเราได้อีกด้วย
การทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดีคือ
- ทำให้สภาพแวดล้อม โดยรอบเกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์
- ทำให้ผลผลิตทางการเกษตร ลดความเสี่ยงจากโรคภัยที่เกิดจากสารเคมี ต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค
- เป็นการสร้างอาหารที่มีคุณภาพที่ไม่มีสารตกค้าง โภชนาการสูง ไม่มีโรคหรือแมลง
- เกิดความยั่งยืนในการผลิตเนื่องจากทรัพยากรดินและน้ำมีความสมบูรณ์ไม่เน่าเสีย และมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ต่อคนหรือสิ่งแวดล้อม
5.สร้างความหลากหลายของผลผลิต เช่นปลูกข้าวในนา คันนาก็ปลูกพืชชนิดต่างๆ ในบ่อก็เลี้ยงปลา เป็นต้น
- สร้างรายได้สูงขึ้นเนื่องจากปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ มักเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเกษตรอินทรีย์ เพื่อดูแลสุขภาพ ยิ่งถ้าได้รับรองมาตรฐานจาก สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ก็ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือในผลผลิตเหล่านั้นให้มากยิ่งขึ้น
- นอกเหนือจากนั้นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ยังสามารถช่วยให้ท่านลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นทดแทน ซึ่งมีราคาถูกหรือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก พืชสด หรือสารสกัดจากพืชใช้ฉีดป้องกันแมลง ทำให้เราเกิดการเรียนรู้ในการนำสิ่งที่ทำจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ ฝึกความอดทนและเกิดจิตสำนึก เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย คือ ผลผลิตที่ได้อาจจะต่ำกว่าระบบเกษตรที่6ใช้สารเคมี อีกทั้งการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ได้จากธรรมชาติมักจะไม่ได้ผลกับแมลงศัตรูพืชบางชนิด และลักษณะของผลิตผล รูปทรง สีสัน จะด้อยกว่าผลผลิตที่ได้จากสารเคมี
เป้าประสงค์ของการทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์ คือ การทำเกษตรกรรมของเกษตรกรจะสามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้ ปฏิเสธสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี ปฏิเสธพืชที่ผ่านดัดแปลงพันธุกรรม และคำนึงถึงราคาซื้อขายที่เป็นธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค ให้เกิดความยั่งยืน
ทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์