ทำความรู้จัก มะพลับ ไม้ยืนต้นสรรพคุณดีเกินคาด
อีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่น่าสนใจของคนไทยคือ มะพลับ ซึ่งนับว่าเป็นพืชที่น่าสนใจทางการยามากทีเดียว โดยปัจจุบันถือว่าเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย โดยเชื่อกันว่าหากปลูกไว้ทางทิศใต้ของบ้านจะช่วยหนุนเรื่องความเจริญรุ่งเรือง และความร่ำรวย แถมทั้งต้นมีประโยชน์ทางยาหลายรายการด้วยกัน ส่วนในปัจจุบันถือว่าเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดอ่างทาง ประเทศไทยของเรา
ลักษณะโดยทั่วไปของ มะพลับ
เป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นสูงตั้งแต่ 8 เมตร จนถึง 15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเป็นสีเทาปนดำเรียบ แต่อาจจะมีรอยแตกตามยาวเล็ก ๆ ส่วนใบจะเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับ ปลายแหลมทู่ โคนใบ ส่วนดอกจะมีขนาดเล็กสีขาวและเหลืองอ่อน โดยสามารถจำแนกดอกตัวผู้และตัวเมียได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ส่วนดอกตัวเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวชัดเจน ในขณะที่ผลจะมีลักษณะกลมขนาด 2.5-5 เซนติเมตร ส่วนการขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ด ซึ่งจะเป็นพืชที่มีโอกาสกลายพันธุ์ค่อนข้างยาก แถมยังสามารถให้ร่มเงาได้ และยังทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี
ประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ
เนื้อไม้นิยมใช้สำหรับทำเครื่องมือเกษตร เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ส่วนเปลือกของลำต้นจะใช้สำหรับฟอกหนัง ยางของผลสามารถนำมาย้อมผ้า และอุปกรณ์ทางการประมงอาทิเช่น แหและอวน เป็นต้น เนื่องจากยางของพืชชนิดนี้มีความเหนียวและทนทานมาก แต่ทุกส่วนสามารถนำไปใช้ทำยาได้
สรรพคุณของ มะพลับ
- เปลือกไม้และเนื้อไม้
- ใช้ต้มกับน้ำเพื่อเป็นยาบำรุงร่างกาย เจริญอาหาร ยาลดไข้ กลั้วคอเพื่อใช้แทนยาอมเพื่อรักษาอาการคออักเสบ รวมถึงรักษาแผลในปาก
- ช่วยขับลมโดยเฉพาะในส่วนของเรื่องลมในระบบขับถ่าย บรรเทาอาการทางเดินอาหารเช่น แก้โรคบิด ท้องร่วง
- ช่วยในส่วนของการสมานแผล รักษาแผล
- ผล
- สำหรับผลอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย
- ผลแก่จะใช้เป็นยาอม กลั้วคอ สำหรับคนที่มีปัญหาคออักเสบ
- ผลดิบรวมถึงผลอ่อนสามารถนำมาใช้เพื่อทำยาแก้ท้องร่วงและบิด
- ผลอ่อนนำไปต้มเพื่อใช้สำหรับล้างแผล รวมถึงสมานแผล
- ผลแก่สามารถทานได้บ่อย ๆ ช่วยให้ปอดมีความชุ่มชื้นมากขึ้น
- ผลแก่ลดอาการความดันโลหิตสูง
- นอกจากนั้นผลแก่ยังช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วย
- ใบ
- นิยมมาไปตากแห้งเพื่อชมเป็นชาดื่มจะช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ช่วยให้ผ่อนคลายนอนหลับง่ายขึ้น
- ป้องกันโรคหรือโอกาสเสี่ยงเลือดแข็งตัว
โดย มะพลับ ผลแก่จัดสามารถทานได้ซึ่งจะมีรสฝาดและหวาน แต่เนื้อด้านในอาจจะเละไปเล็กน้อย นอกจากนั้นในตำราของคนจีนยังสามารถนำไปทำขนมได้อีกด้วย