ต้นพะยูง
ต้นไม้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นประจำจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นต้นที่ถือกำเนิดในประเทศพม่าแต่ในไทยสามารถพบได้ในป่าเขตชื้นและป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั่นคือต้นพะยูงนั่นเองซึ่งเป็นต้นที่ไม้แข็งเหมือนไม้สักเชื่อว่าถ้าปลูกไว้ประจำบ้านไหนจะทำให้คนในบ้านมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองมีฐานะมั่นคงชีวิตสูงส่งถือเป็นไม้มีค่าทั้งในเรื่องของความเชื่อและในเรื่องของราคากันเลยทีเดียว อยากทราบกันแล้วใช่ไหมละคะว่ามันมีลักษณะพิเศษอย่างไรเราไปดูกันเลยค่ะ
ลักษณะพิเศษต้นพะยูง
พะยูงเป็นไม้ยืนต้นลำต้นตรงที่มีเปลือกเรียบสีเทาเป็นแผ่นบางๆเรือนยอดรูปไข่ เนื้อไม้ละเอียดมีเสี้ยนเป็นริ้วแคบๆหนักและแข็งมากมีสีน้ำตาลแดงอมม่วงเป็นเนื้อมันเลื่อมค่อนข้างแต่งยากมีน้ำมันในตัวเมื่อขัดจะมันเงาได้ดี ใบเป็นช่อคล้ายขนนกเรียงสลับฟันปลาใบรูปวงรีปลายเป็นช่อแหลมใบเหนียวเหมือนแผ่นหนังท้องใบสีเขียวนวลหลังใบเป็นสีเขียวเข้มใบเกลี้ยงไม่มีขน ดอกมีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่วออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือห้อยที่ใบใกล้ยอดโคนกลีบติดกันขอบใบหยักมีกลีบทั้งหมด3กลีบคือกลีบคลุมลักษณะคล้ายโล่กำบัง กลีบปีกจะอยู่ขนานกันสองข้าง กลีบกระโดงคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ออกผลเป็นฝักแบนและบางมีผิวเกลี้ยงทรงกลางมีส่วนที่หุ้มเมล็ดเอาไว้บริเวณที่หุ้มเป็นเส้นแขนงแต่จะเห็นไม่ค่อยชัดฝักจะแก่เมื่อออกดอกได้ประมาณ2เดือนอยู่ในช่วงเดือนกันยายนแต่หากฝักแก่แล้วแต่ฝักไม่แตกเมล็ดออกมาจะมีลักษณะเหมือนฝักไม้แดง เมล็ดจะคล้ายรูปถั่วผิวค่อนข้างมัน
การดูแลต้นพะยูง
- ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ต้นพะยูงเพียงปีละ3ครั้ง
- ควรกำจัดวัชพืชบริเวณต้อนไม้ปีละ2ครั้งเพื่อไม่ให้วัชพืชมาแย่งอาหารจากต้นไป
- ต้องการแสงแดดจัดที่ส่องถึงตลอดทั้งวัน
- ควรให้น้ำในปริมาณพอดี5-7วัน/ครั้ง
- ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย
ประโยชน์ของต้นพะยูง
- ยางสดใช้ทาเป็นยาทาปาก รักษาโรคปากเปื่อยและทาแก้เท้าเปื่อย
- ไม้พะยูงถือเป็นไม้มีค่าที่แพงกว่าไม้สักหลายเท่าเพราะด้วยความมีลวดลายสีสันที่สวยและมีความคงทน
- รากใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม
- นิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ทำสิ่งประดิษฐ์ งานแกะสลัก ไม้ถือและด้ามเครื่องมือ ที่มีคุณภาพดีและราคาแพง
- นำมาใช้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียน ด้ามหอก กระสวยทอผ้า ใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น ซออู้ ซอด้วง ฯลฯ หรือใช้ทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็ก ๆ เช่น ตัวปี่เซียะ