ต้นตะเคียนหิน
ต้นตะเคียนหินเป็นไม้มีค่าที่สามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนทั้งเรื่องการนำมาทำของใช้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคและต้นตะเคียนหินถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญอีกด้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและยังขยายพันธุ์ไปยังลาว กัมพูชา มาเลเซียอีกด้วยแต่ความเป็นจริงต้นตะเคียนหินมีการกระจายพันธุ์ในแถบอินโดจีนและคาบสมุทรมลายู มักจะพบบริเวณป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
ลักษณะพิเศษต้นตะเคียนหิน
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบสูงประมาณ30เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ๆผิวลำต้นจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายรูปกรวยบริเวณโคนต้นจะมีพูพอนบริเวณกิ่งอ่อนจะมีขนประปราย ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบรูปไข่แกมหอกโคนใบทู่แล้วค่อยๆเรียวเข้าหาปลายทำให้ปลายใบแหลมหรือไม่ก็มนผิวใบจะเกลี้ยงและเป็นมันทั้งสองด้านมีเส้นแขนงใบเป็นคู่ๆใบอ่อนจะมีสีแดงเรื่องๆ ใบแห้งจะเป็นสีเขียวอ่อนเมื่อก้านใบแห้งจะเปลี่ยนก้านเป็นสีดำ เส้นแขนงใบเป็นคู่ขนาดเส้นจะเล็กและอ่อน ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง มีสีขาวมีกลีบเลี้ยง5กลีบโคนกลีบจะเชื่อมติดกันคล้ายรูปกรวยปลายกลีบจะแยกออกเป็นแฉก มีขนประปราย กลีบดอกด้านนอกมีขนนุ่ม ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกจะจีบวนกันคล้ายรูปกังหันกลีบดอกจะยาวกว่ากลีบเลี้ยงมากจะมีสีเดียวกัน ก้านดอกจะสั้นมองแทบไม่เห็น มีขนนุ่มทั่วไปตามก้านช่อดอกออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม ผลแห้งไม่แตก มีผิวที่แข็งเป็นรูปขอบขนานปลายเป็นติ่งแหลม มีขนประปราย มีปีก 5 ปีก ปีกสีน้ำตาลดำ ปีกสั้น 3 ปีก สั้นมากติดกับโคนผล อีกสองปีกเป็นปีกยาวปกติภายในผลจะมีเมล็ด1เมล็ด
การดูแลต้นตะเคียนหิน
- เติบโตได้ดีในทุกๆสภาพดินแต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีไม่ปล่อยให้น้ำขัง
- ต้องการความชื้นปานกลาง
- ควรปลูกในที่ที่มีแดดจัดส่องถึงตลอดทั้งวันเพราะเป็นพืชจำพวกไม้กลางแจ้ง
- ให้น้ำในปริมาณที่เหมาะ7-10วัน/ครั้ง
ประโยชน์ของต้นตะเคียนหิน
- ภายในต้นมียางไม้ที่มีกลิ่นหอมมาก แก่นนำมาทำเป็นเครื่องยา รักษาโรคเลือดลม
- นำเปลือกมาต้มน้ำสามารถใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง และผสมกับเกลือ อมเพื่อป้องกันฟันหลุด เนื่องจากได้รับสารปรอทเข้าไป
- เนื้อไม้จะมีความทนทานและแข็งแรง สามารถใช้ทำเครื่องเรือน เรือ เสา สะพาน หมอนรางรถไฟได้
- ดอกสามารถใช้เข้ายาไทยเป็นเกสรร้อยแปด