ตะไคร้
หากพูดถึง ตะไคร้ แล้ว แน่นอนว่าสำหรับคนไทย คงจะไม่มีใครไม่รู้จักพืชผักสวนครัวชนิดนี้เป็นแน่ ทั้งนี้เป็นเพราะตะไคร้นั้นเรียกได้ว่าเป็นพืชพรรณอีก 1 ชนิดที่มีความผูกพันกับการวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน ในทุกยุคทุกสมัย คนไทยสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ต้นจนถึงใบ ซึ่งไม่เพียงแต่ตะไคร้จะใช้สำหรับการประกอบอาหารในเมนูสำหรับไทยมากกว่าครึ่งแล้วเท่านั้น แต่คนไทยยังนำจากใครมาใช้เป็นยาแผนโบราณรักษาอาการต่างๆได้อีกมากมายเลยทีเดียว
ตะไคร้จัดเป็นพืชชนิดล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ขึ้นรวมตัวอยู่กันเป็นกอ ลำต้นสีเขียวปนขาว มีลักษณะเป็นกาบแข็งห่อซ้อนกันเป็นทรงกลมเรียวยาว ทั้งนี้ขนาดของช่วงโคนต้นจะมีขนาดใหญ่และไล่ระดับเล็กลงไปเรื่อยๆจนส่วนของใบ สำหรับใบตะไคร้มีสีเขียวอ่อน พื้นผิวสากมือ ลักษณะเรียวแหลมเป็นทรงยาว สามารถยาวได้เฉลี่ยแล้วประมาณ 30- 80 เซนติเมตร ซึ่งส่วนของใบนั้นจะงอกต่อจากส่วนของลำต้นยาวออกมา ขอบใบมีความแหลมคม
โดยตะไคร้นั้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเจริญเติบโตได้ในหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศลาว, พม่า อินโดนีเซีย ศรีลังกา และ มาเลเซีย ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยแล้วเราสามารถพบเห็นตะไคร้ได้ทั่วไป ในทุกพื้นที่ว่างของแต่ละบ้านเรือน ทั้งนี้ตะไคร้สามารถแยกย่อยออกมาเป็น อีก 6 ชนิดได้แก่
– ตะไคร้น้ำ
– ตะไคร้หางสิงห์
– ตะไคร้หอม
– ตะไคร้กอ
– ตะไคร้ต้น
– ตะไคร้หางนาค
ในด้านของการใช้ประโยชน์นั้นคนไทยมักคุ้นเคยกับการนำตะไคร้มาเป็นวัตถุดิบส่วนหนึ่งในการประกอบอาหารเมนูต่างๆไม่ว่าจะเป็นต้มผัดแกงและทอด โดยส่วนใหญ่แล้วมากกว่าครึ่งของตำรับอาหารไทยนั้นจะมีส่วนประกอบเป็นตะไคร้รวมอยู่ด้วยเสมอ แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากกลิ่นหอมและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ยังมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของตะไคร้ ในการใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆได้อีกมากมายซึ่งสามารถยกตัวอย่างประโยชน์ทางการรักษาของตะไคร้ได้ ดังต่อไปนี้
– รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
– แก้จุกเสียดในกระเพาะอาหารและช่องอก
– ใช้เป็นยาขับเหงื่อ
– ยาบำรุงธาตุไฟในร่างกาย
– ช่วยให้รู้สึกเจริญอาหาร
– ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งภายในกระเพาะและลำไส้
– รักษาอาการหวัดคัดจมูก
– รักษาอาการคลื่นเหียนวิงเวียนและอาเจียน
– เป็นยารักษาอาการปวดหัว
– เป็นยารักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้
– ยาแก้ปวดท้องและขับลมส่วนเกินภายในกระเพาะอาหาร
– ช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานของระบบย่อยอาหาร
– ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดลมภายในร่างกาย
– รักษาอหิวาตกโรค
– สาเหตุโรคเชื้อราบนผิวหนัง
– ใช้เป็นยารักษาฝีหนองและแผลต่างๆบนร่างกาย
เพียงแค่สรรพคุณทางยาเหล่านี้แตกต่างคล้ายนั้นยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกมากมายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์อย่างไรนั่นเองซึ่งปัจจุบันราคาเพียงถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มพืชที่ถูกสกัดออกมาเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการรักษาโรคเครียดและเสริมสร้างความผ่อนคลายแบบอโรมาเทอราปีอีกด้วย