คนทา

คนทา

จัดเป็นอีกหนึ่งในพืชพรรณสมุนไพรที่ถูกบรรจุเอาไว้ในตำรับยาพื้นบ้านของไทย โดยทั่วไปแล้วสามารถสามารถพบเห็นต้นคนทาได้ตามป่า หรือพื้นที่ต่างๆ มากมาย ทั่วไป แต่นอกเหนือจากการเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงา หรือการใช้เนื้อไม้สำหรับนำไปทำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆแล้ว ในความเป็นจริงพืชชนิดนี้ยังมีประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอื่นๆอีกไม่น้อยเลยทีเดียว ในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของไม้ยืนต้นอีกหนึ่งชนิดที่มีชื่อว่า “คนทา” นั่นเอง

คนทา จัดเป็นพืชในกลุ่มประเภทของไม้พุ่มเถาหรือไม้พุ่มเลื้อย จะมีการเจริญเติบโตในแบบที่เกาะเกี่ยวต่อยอดกันสูงขึ้นไปประมาณ 5-6 เมตร ขนาดของลำต้นเมื่อโตเต็มที่จะใหญ่สุดประมาณต้นปาล์มหรือหมาก เปลือกของลำต้นมีลักษณะเป็นพื้นผิวเรียบสีน้ำตาล และมีหนามขึ้นปกคลุมลำต้นตลอดแนว โดยคนทานั้นสามารถพบได้มากมายในเขตประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่จีนลงมาจนถึงอินโดนีเซีย ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยนั้น จะพบคนทาได้มากในภาคเหนือและภาตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพันธุ์ไม้นี้จะขึ้นอยู่ทางแถบป่าเบญจพรรณต่างๆภายในประเทศไทย มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลนั่นเอง ทางนี้ฝนหายอย่างนี้ซื้ออย่างอื่นๆตามแต่ละพื้นที่อื่นในภูมิภาคของประเทศไทยอีกมากมายเช่น มีซี  สีเดาะ หนามโกทา ขี้ตำตา  หนามจี กะลันทา และ สีฟันเป็นต้น

ทางด้านลักษณะทางกายภาพของต้นคนทานั้นสามารถมองเห็นและจดจำได้โดย ขึ้นแตกกอเป็นพุ่มมีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 – 13 เซนติเมตร และมีความสูงที่สุดไม่เกิน  8 – 9 เมตร เปลือกของลำต้นมีหนามขึ้นปกคลุมตลอดแนวเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมแดง ใบมีลักณะกลมรีเป็นรูปไจ่ ขอบใบหยัก ปลายแหลม โดยจะออกมาเป็นกลุ่มใน 1 ก้าน ประมาณ 8 -15 ใบ ทั้งนี้ใบอ่อนที่เพิ่งงอกออกมาใหม่จะมีลักษณะเป็นสีแดงอมน้ำตาลและเมื่อแก่เต็มวัยไปจะกลายเป็นสีเขียวเข้ม ในส่วนของดอกนั้น หากเป็นดอดตูม มีสีแดงอมม่วงและเมื่อบานออกจะกลายเป็นสีเขียวอ่อน ขาวนวล  ในส่วนของการขยายพันธุ์นั้น เมื่อดอกแก่เต็มที่แล้วภายในจะมีเมล็ดน้ำตาลขนาดประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร ซึ่งจะปลิวกระจายหรือหล่นร่วงลงสู่พื้นดินและเกิดขึ้นมาเป็น คนทา ต้นใหม่นั่นเอง

ในส่วนของการใช้ประโยชน์โดยทั่วไปแล้วคนไทยมักนิยมนำไม้ คนทา ซึ่งมีลักษณะเหนียว และแข็งแรงไม่เปราะหักง่าย มาทำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นไม้พายคานอาบน้ำหรือด้ามจอบ และด้ามเสียม เป็นต้น นอกจากนี้ ไม้คนทายังสามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมม่วงผ้า ตามแบบภูมิปัญญาไทยได้อีกด้วย อะไรก็ตามนอกเหนือจากการใช้ประโยชน์เหล่านี้แล้วยังมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของคนทาที่ใช้รักษาอาการและโรคต่างๆอีกมากมาย โดยสามารถยกตัวอย่างได้ ดังต่อไปนี้

– ใช้ลำต้นมาต้มกินกับน้ำเป็นยาสำหรับฟอกโลหิตภายในร่างกาย

– รากของคนทาใช้เป็นยาขับโลหิตเสียในสตรีได้

– เบื่อคนทาใช้ต้มผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆสำหรับการรักษาพิษไข้ต่างๆได้เป็นอย่างดี

– รักษาอาการท้องเสียหรืออหิวาตกโรค

– ชงผสมน้ำดื่มช่วยเพิ่มความชุ่มคอและดับกระหาย

– ลดอาการปวดฟันและเหงือกอักเสบ

– อาการอักเสบในโรคตาต่างๆ

– กรดเกินในกระเพาะอาหาร

– แก้ท้องอืดท้องเฟ้อหรืออาการจุกเสียดแน่นหน้าอก

– สารพิษและโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

– รักษาโรคบิด

– รักษาอาการน้ำเหลืองเสีย

– เป็นยาสมานแผลสด

– ป้องกันพิษสัตว์แมลงกัดต่อย

– ลดอาการอักเสบต่างๆ

– ใช้เป็นยาแก้ปวด

 

 

 

ทั้งนี้นอกเหนือจากสกุลต่างๆเหล่านี้แล้วในตำรับภูมิปัญญา ยาห้าราก ของไทย ที่ชื่อว่า “เบญจโลกวิเชียร” นั่น เสียงปรากฏชื่อของคนทาเป็น 1 ใน 5 สมุนไพรที่กล่าวถึง โดยตำรับยาดังกล่าวนั้น มีสรรพคุณช่วยในด้านการช่วยลดอาการปวดหัวและรักษาไข้ต่างๆได้เช่นเดียวกันกับการใช้ยาพารา อีกทั้งยังไม่มีอันตรายต่อตับของผู้ใช้ในระยะยาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เอง จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนานเลยทีเดียว

 

 

 

 

คนทา

คนทา

Recommended Articles