ข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้ของพืชประเภทล้มลุก
พืชล้มลุก จัดเป็นอีกหนึ่งประเภทของพืชที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพร ผักสวนครัวตลอดจนผักเศรษฐกิจของท้องถิ่นหลายๆชนิด โดยมากมักถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของพืชประเภทนี้
พืชล้มลุก ( Herb ) มีความหมายโดยรวมคือพืชเนื้ออ่อน ที่ไม่มีเนื้อไม้ เป็นพืชจำพวกที่ให้ผลผลิตในระยะสั้นก่อนที่ต้น ใบ รวมถึงกิ่งก้านจะเหี่ยวเฉาและตายลงไป โดยมีระยะเวลาตั้งแต่การเก็บผลผลิตในครั้งแรก ไปจนถึงมาที่สุดคือสองปี โดยเมื่อกิ่ง ใบ เหี่ยวเฉาลงไปหลังเก็บผลผลิต หรือหมดอายุการเจริญเติบโตลงไปนั้น แต่ว่าราก หรือหัวไม่ได้ตายลงไปด้วย ทั้งนี้หากตัดส่วนบนดินทิ้งไปแล้ว เมื่อถึงฤดูการหรือได้รับน้ำและสารอาหารที่เพียงพอก็มีโอกาสที่จะสามารถเจริญเติบโตขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง พืชจำพวกล้มลุกนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ผัก แต่ยังรวมไปถึง สมุนไพร และไม้ดอกอีกด้วย
โดยพืชกลุ่มล้มลุกนั้นสามารถจำแนกประเภทออกเป็นหน่วยย่อยได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
- ไม้ล้มลุกปีเดียว (Annual Herb) ความหมายคือมีอายุขัยและให้ผลผลิตได้มากที่สุดคือไม่เกิน
1 ปี ก่อนจะตาย โดยสามารถปลูกเพื่อเก็บผลผลิต ทั้งดอก ใบ ผล ตลอดจนปลูกเพื่อรอเวลาเหี่ยวเฉากลายเป็นสารอาหารให้กับดินก่อนจะปลูกพืชชนิดอื่นเมื่อถึงฤดูกาลตัวอย่างสำหรับพืชกลุ่มนี้ได้แก่ ถั่ว, แตงโม, ข้าวโพด, ผักกาด, ดาวเรือง, แตงกวาเป็นต้น
- ไม้ล้มลุกข้ามปี (Biennial Herb) ความหมายสำหรับพืชกลุ่มนี้คือ มีอายุการให้ผลผลิตมากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี โดยจะมีระเวลาการเติบโตใน 1 ปีแรก และจะเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2 ก่อนจะสิ้นอายุขัยลงไป ทั้งนี้ปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่นๆ สามารถส่งผลต่ออายุขัยของพืชกลุ่มได้หากอากาศแล้งมากหรือได้รับสารอาหารและน้ำไม่ดี พืชกลุ่มนี้อาจจะเหี่ยวเฉาและตายลงไปก่อนจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต อีกทั้งพืชกลุ่มสามารถปลูกให้และเกี่ยวเกี่ยวลดอายุขัย ให้เหลือเพียง 1 ปีได้อีกด้วย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก ตัวอย่างพืชในกลุ่มนี้ ได้แก่ บัวแดง, กล้วย, แครอท, ขึ้นฉ่าย, มะเขือเทศ เป็นต้น
3.ไม้ล้มลุกอายุหลายปี (Perennial Herb) หมายถึงพืชที่สามารถมีอายุขัยได้มากกว่า 2 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้มากกว่า 1 ครั้งก่อนจะเหี่ยวเฉาสิ้นอายุไขลงไป ทั้งนี้พืชกลุ่มนี้นี่เอง ที่เมื่อกิ่ง ก้าน ใบ เหี่ยวเฉาลงไปแล้วแต่รากหรือหัวในดิน รอเวลาที่จะได้รับน้ำหรือสารอาหารเพื่อที่จะเติบโตกลับขึ้นมาได้ใหม่ สำหรับพืชชนิดนี้ได้แก่ ข่า, พริก, ขมิ้น, กุยช่าย, บัว, พลับพลึง เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการรวมรวมการจำแนกประเภทของพืชในกลุ่มล้มลุกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากอายุขัยของพืชเหล่านี้มักไม่แน่นอน เพราะมีปัจจัยเสริมเข้ามามีส่วนมากมาย บางชนิดอาจอยู่ได้นานกว่าเดิม หรือบางชนิดอาจแห้งเหี่ยวตายเร็วกว่ากำหนด ทำให้ไม่สามารถแยกประเภทที่แน่นอนได้ แต่อย่างไรก็ตาม สามารถเรียกรวมทั้งหมดได้ด้วยคำนิยามว่า “พืชล้มลุก” นั่นเอง
พืชล้มลุกสำหรับการทำการเกษตรนั้นหากยึดเป็นหลัก ก็สามารถทำเป็นรูปแบบเกษตรในระยะสั้นได้ โดยหมุนเวียนเปลี่ยนชนิดที่เพาะปลูกไปตามฤดูการ หลังเก็บผลผลิตแล้ว จึงไถกลบลำต้นเหล่านั้นเพื่อให้กลายเป็นสารอาหารในดินก่อนจะนำพืชชนิดใหม่ หรือชนิดเดิมลงปลูกใหม่ในพื้นที่เดิม
ในปัจจุบันการปลูกพืชในกลุ่มล้มลุก มักนิยมทำในรูปแบบเกษตรผสมผสาน คือการปลูกรวมกับพืชชนิดอื่นๆ ด้วย อาทิเช่น ปลูกตามร่องสวน ปลูกแซมไม้ยืนต้นหรือปลูกร่วมกับพืชระยะยาวอื่นโดยจัดตามลำดับความสูง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตตกต่ำในท้องตลาด ตลอดจนลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และใช้พื้นที่ที่มีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือเกษตรแบบผสมผสานนั่นเอง