การเพาะและขยายพันธุ์ ผักปลอดสารพิษ

การเพาะและขยายพันธุ์ ผักปลอดสารพิษ

การเพาะและขยายพันธุ์ ผักปลอดสารพิษ

 

 

                       การเพาะและขยายพันธุ์ ผักปลอดสารพิษ คือ ผักที่ปลูกโดยไม่ใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นเหตุในการปนเปื้อนและตกค้างในพืชผัก รวมถึงไม่ใช้ยากำจัดวัชพืช และยาฆ่าแมลง  แต่จะใช้การปลูกแบบธรรมชาติและการใช้สารอินทรีย์มาเป็นปุ๋ยในการกำจัดวัชพืชหรือแมลงแทน และการมีสถานที่ปลูกห่างไกลบริเวณที่มีมลภาวะสูง

 

 

การเพาะและขยายพันธุ์ ผักปลอดสารพิษ

  1. เราต้องหาบริเวณที่เราจะปลูกให้เหมาะสม เช่น มีแสงแดดส่องถึง รวมถึงบริเวณใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการรดน้ำ อาจจะสร้างเป็นโรงเรือน  หรือจะทำแบบมีมุ้งคลุมป้องกันแมลงก็ได้
  2. 2. เตรียมภาชนะหรือแปลงที่จะทำการเพาะปลูก เช่น ใช้กระถาง ถัง ลังโฟม รวมถึงการนำไม้ อิฐ หรือสังกะสีมากั้นเป็นรั้วล้อมรอบ หรือจะทำแปลงเพาะโดยการยกร่องเป็นแถว ๆ ก็ได้

3.เตรียมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ รวมถึงน้ำหมักชีวภาพต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สารเคมี

วิธีการเพาะ

เตรียมดินโดยขุดหรือไถตากไว้ประมาณ 7 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค และวัชพืช ปรับสภาพดินด้วยปูนขาว หลังจากนั้นก่อนปลูกให้ใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ผสมลงในดินในแปลงปลูก นำเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้มาหยอดลงในดินที่ทำเป็นหลุม  ให้มีระยะห่างของหลุมประมาณ 2-3 เมล็ด  ตามเมล็ดพันธุ์ที่เรานำมาปลูก เสร็จแล้วให้นำฟางข้าวมาคลุมแปลงปลูกไว้ แล้วใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผสมน้ำเปล่าเรียบร้อยตามอัตราส่วนที่กำหนดของแต่ละน้ำหมักชีวภาพ มาฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน  และกำจัดแมลงโดยใช้น้ำหมักจากธรรมชาติ เช่น สาบเสือ เป็นต้น กำจัดวัชพืชด้วยการถอนและไม่ใช้น้ำยากำจัดวัชพืช หลังจากนั้นให้เก็บเกี่ยวตามอายุของผักแต่ละชนิด

                   การเพาะและขยายพันธุ์ ผักปลอดสารพิษ                     

 

การขยายพันธุ์

 –เพาะเมล็ด   นำเมล็ดพันธุ์ที่คัดสรรแล้วจัดเตรียมไว้เพื่อปลูก และเมื่อเติบโตกลายเป็นต้นกล้า จึงย้ายไปปลูกในพื้นที่ต้องการ

แยกส่วน  คือการนำเอาส่วนที่เป็นหัว หรือหน่ออ่อนของพืชแยกออกมาปลูก  ซึ่งพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ อาทิเช่น ขิง ข่า หอม กระเทียม เป็นต้น

การตอน  คือการทำให้กิ่งเกิดรากขึ้นมาขณะยังติดอยู่กับต้นเดิม เมื่อมีรากมาก และแข็งแรงก็จะตัดมาปลูกให้เป็นต้นใหม่ เช่น มะกรูด มะนาว

การปักชำ คือใช้ส่วนต่างๆของพืชมาปักชำลงไปในดิน หรือแปลงที่เราเตรียมไว้ พืชที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ เช่น กระเพรา สะระแหน่ ชะอม เป็นต้น

                                         

ประโยชน์  คือทำให้ลดการปนเปื้อนของสารเคมีลงในพืชผักที่เรานำมารับประทาน และยังไม่เป็นการทำลายดิน ทำให้ดินมีสภาพดีไม่ต้องทำการปรับปรุงมาก ลดค่าใช้จ่าย  ทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งในการผลิตและรักษาสุขภาพไปด้วยกัน

 

 

Recommended Articles