การรักษาโรคพืช
อีกหนึ่งปัญหาที่สามารถเกิดขึ้น หากคุณมีอาชีพเกษตรกรรม นั่นก็คือการระบาดของโรคต่างๆ โดยปัญหานี้ล้วนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งเกษตรกรจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโรคของพืชอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถแก้ไขได้อย่างทันเวลาและตรงจุดมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะลุกลามเป็นวงกว้างจนสูญเสียผลผลิตทั้งหมดที่ปลูกไว้นั่นเอง
โดยแนวทางสำหรับการรักษาโรคพืชรวมไปถึงการป้องกัน ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ในเบื้องต้น เกษตรกรควรมีแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้
- รู้จังหวะในการเพาะปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
ในข้อนี้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้โดยการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของพื้นที่การเกษตร โดยรอบ รวมไปถึงตรวจสอบประวัติการแพร่ระบาดและความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ภายในพื้นที่การทำเกษตรกรรมของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำหรือเปลี่ยนช่วงเวลาในการปลูกไปเลยนั่นเอง
- การขัดขวางปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยง
ในข้อนี้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ โดยการตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ เช่น เมล็ดพันธุ์ ว่ามีแหล่งที่มาเป็นอย่างไร หากพบว่า มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยง ให้ทำการยกเลิกทันที เพื่อเป็นการขัดขวางไม่ให้นำความเสี่ยงเข้ามาภายในพื้นที่ของตนเอง
- การสอดส่องและป้องกัน
แต่เป็นอีกหนึ่งแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ โดยเกษตรกรจำเป็นจะต้องคอยสอดส่องพื้นที่โดยรอบแปลงเกษตรของตัวเอง สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มีสิ่งต่างๆเข้ามารบกวน นอกจากนี้ยังสามารถทำได้โดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การล้อมรั้ว การใส่ปุ๋ย หรือการฉีดสารเคมีไล่แมลง บนพื้นที่โดยรอบนั่นเอง
- การทำลาย
อีกหนึ่งวิธีการที่จะรักษาพืชไม่ให้เกิดโรคได้ คือ หลังจากคอยตรวจสอบและเพื่อพบเห็นความผิดปกติจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศัตรูพืชหรือวัชพืช ให้รีบทำลายทิ้งในทันที เพื่อป้องกันการแพร่ขยายความเสียหายเป็นวงกว้าง
- การรักษาเมื่อเกิดโรค
สำหรับการตรวจตราสอดส่อง หากพบว่าช้าเกินไปจนพืชเริ่มเกิดโรคขึ้นมาแล้ว เกษตรกรจำเป็นจะต้องมองหาแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคในทันที โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางธรรมชาติรวมไปถึงการใช้สารเคมี
ทั้งหมดนี้คือแนวทางการป้องกันรวมไปถึงการรักษาโรคพืชเพื่อป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ทางการเกษตรกรรมของตนเอง ยังไงก็ตามนอกเหนือจากแนวทางปฏิบัติและปัจจัยความเสี่ยงต่างๆจากภายนอกแล้ว วิธีการรักษาและป้องกันที่ดีที่สุดนั่นก็คือการเอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง