การปลูกพืชแบบพึ่งพา เป็นแบบไหนทำได้ไม่ยาก

การปลูกพืชแบบพึ่งพา เป็นแบบไหนทำได้ไม่ยาก

การปลูกพืชแบบพึ่งพา เป็นแบบไหนทำได้ไม่ยาก

สำหรับ การปลูกพืชแบบพึ่งพา ก็ดูจะเป็นอีกหนึ่งวิถีการเกษตรที่เหมาะกับเกษตรกรไทย หรือ ผู้ที่สนใจอยากทำสวนเพราะมีพื้นที่ไม่มากก็ทำได้ และถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถูกส่งต่อกันมาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ และมีการปรับประยุกต์ให้เหมาะกับสภาพของแต่ละพื้นที่

ความหมายของการ ปลูกพืชแบบพึ่งพา ก็คือการปลูกพืชในลำดับชั้นดินเดียวกัน โดยจะอาศัยธรรมชาติของต้นไม้แต่ละชนิดเป็นหลักและเป็นตัวกำหนดในการเลือกชนิดพันธุ์ที่จะปลูก โดยจะมีลักษณะคล้ายกับการสร้างระบบนิเวศแบบสวนป่า คือจะมีพืชที่ต้องการแสงแดดมากลำต้นสูง เป็นพืชหลัก และ จะมีพืชที่ต้องการแสงน้อยลำต้นเตี้ยเป็นพืชรองแต่จะปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะคล้ายกับการสร้างระบบนิเวศแบบการปลูกป่า 5 ระดับ ซึ่งดังนี้สำหรับการปรับใช้กับพืชผัก พืชสวน 

 

 

ระดับที่ 1 ก็จะเน้นเป็นไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดินเช่น มันสำปะหลัง หอมหัวใหญ่ เป็นต้นเพราะหัวจะอยู่ใต้ดินมีต้นโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย 

ระดับที่ 2 ก็จะขยับขึ้นมาเป็นไม้เลื้อย ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่เดียวกัน เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา ตำลึงหรือไม้เลื้อยอื่นๆ

ระดับที่ 3 ก็จะเป็นไม้พุ่มเตี้ยเช่น พริก  กระเพรา มะเขือเป็นต้น

ระดับที่ 4 ก็จะเป็นไม้ยืนต้นระดับกลางซึ่งไม่สูงมากเช่น มะกรูด ส้มโอ ขนุน ขี้เหล็ก มะนาว เป็นต้น

ระดับที่ 5 ก็จะเป็นกลุ่มไม้ทรงสูงเพื่อให้ร่มเงากับไม้ทุกระดับเช่นยางนา ประดู่ จำปา มะม่วง เป็นต้น

 

การปลูกพืชแบบพึ่งพา เป็นแบบไหนทำได้ไม่ยาก

 

ซึ่งการไล่ระดับตามระบบนิเวศแบบสวนป่า 5 ระดับนี้ก็จะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพันธุ์ไม้หลายชนิดได้ในพื้นที่เดียวกันซึ่งก็จะเป็นที่มาของการ ปลูกพืชแบบพึ่งพา แต่ก็ยังมีการประยุกต์ ตามระดับขั้นของพันธุ์พืชแต่ละชนิดตามพื้นที่เ พราะบางพื้นที่อาจไม่เหมาะกับการลงไม้สูงอย่างเช่นมะค่า ไม้สัก ประดู หรืออื่นๆก็จะอาศัยไม้แบบอื่นอย่างเช่นต้นมะม่วง ขยับมาเป็นไม้ระดับสูง และบริเวณโดยรอบก็จะปลูกพันธุ์ไม้ที่เตี้ยกว่าแลต้องการแดดไม่มาก เป็นพืชที่ต้องการร่มเงา แต่ให้ผลผลิตดี ก็จะเรียกว่าเป็น

การปลูกป่าแบบพึ่งพา ได้ซึ่งการปลูกพืชในลักษณะนี้ ก็จะต้องดูตามความเหมาะสมของพื้นที่การเลือกพันธุ์ไม้เป็นหลัก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการปลูกโดยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบนี้ ก็จะเน้นตามความเหมาะสมของพื้นที่ ความต้องการของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้หรือสมุนไพรจัดสรรให้เข้ากับพื้นที่ก็ถือว่าเป็นการปลูกพืชที่ให้ประโยชน์

 

Recommended Articles